วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

พระล้านนา เหรียญของครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน รุ่น 3

เหรียญของครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน นี้ถือว่าเป็นเหรียญที่งดงามอีกเหรียญ 1 ของครูบา ด่านหน้าเป็น รูปเหมือนครูบาครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นพระพิศฆเนศ เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากในด้านโชคลาภเงินทอง ของครูบาดวงดี 
ลายละเอียดการสร้างเหรียญรุ่น 3 ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน



เหรียญรุ่น ๓ ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน
เนื้อนวโลหะ ตอก ๒ โค้ด หมายเลข ๘
ประวัติการสร้าง
เหรียญรุ่น ๓ ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน
สร้าง พ.ศ.๒๕๔๙
ลักษณะด้านหน้าเป็นรูปหน้าหลวงปู่ ด้านหลังเป็นรูปพระพิฆเนศวร
เพื่อป้องกันเสนียดจัญไร และ สามารถใช้อธิษฐานขอ เพื่อให้สมปรารถนาในทุกเรื่อง
การปลุกเสกเหรียญรุ่น ๓
มีการจัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่ และหลวงปู่ยังให้มีการตั้งขันหลวงเพื่อบูชาครู ในพิธีการปลุกเสกเหรียญ (เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่มีการตั้งขั้นหลวง) โดยหลวงปู่ปลุกเสกเดี่ยวแบบโบราณ นั่งทับข่มอาวุธ ปืน มีด ดาบ ขวาน อื่นๆ
จำนวนสร้าง
เนื้อทองแดง 3000 เหรียญ
เนื้อนวะโลหะ 108 เหรียญ
เนื้อเงิน 91 เหรียญ
เนื้อตะกั่ว 59 เหรียญ
ลองพิมพ์พิเศษหน้าหลัง เนื้อทองเหลือง 2 เหรียญลองพิมพ์พิเศษหน้าหลัง เนื้อตะกั่ว 2 เหรียญ


วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

พระล้านนาลำพูน เหรียญครูบาขาวปี รุ่นแรก ปี2495

เหรียญครูบาขาวปี รุ่นแรก ปี2495 สะหรี 5 กิ่ง (บล็อกนิยม) วัดพระพุทธบาทผาหนาม อ.ลี้ จ.ลำพูน
เป็นเหรียญในฝันที่จับต้องได้ เป็นเหรียญที่ห่วงแหนของชาวลี้ลำพูน และชาวเหนือ มีไว้เป็นมงคลแก่ตน ร่มเย็นเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม

ประวัติการสร้าง
เหรียญครูบาอภิชัยขาวปี วัดพุทธบาทผาหนาม อ.ลี้ จ.ลำพูน รุ่นแรก สะหรี 5 กิ่ง ปี พ.ศ.2495 บล็อกโพธิ์ นี้ส
ร้างจำนวนเหรียญ น้อยและหายากกว่าปัจจุบันเหรียญแท้ๆ-สวยๆหายากมาก เพราะเป็นเหรียญยอดนิยมของนักสะสมนิยมพระเครื่องทั้งพื้นที่ และทั่วไป ครูบาขาวปี ท่านเป็นศิษย์เอกของครูบาเจ้าศรีวิไชยครับ บุญบารมี เป็นที่เคารพบูชาของชาวล้านนา

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2563

พระล้านนาลำพูน วัตถุมงคล ของครูบาเจ้าศรีวิชัย 2482

พระล้านนาลำพูน วัตถุมงคล ของครูบาเจ้าศรีวิชัย 2482 วัตถุมงคลของครูบาศรีวิชัยมีมากมายทั้งเมื่อยังมีชีวิตและหลังจากมรณภาพไปแล้ว สำหรับรุ่นที่เป็นที่นิยมเล่นหากันมากในหมู่นักนิยมสะสมเหรียญคณาจารย์คือ เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย ปี 2482 นับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุด ทางวัดราชบพิตรได้ให้ร้านอัมราภรณ์แกะบล็อก และเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกับวัตถุมงคลของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์  เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2481 แบ่งออกเป็น 2 แบบ
เหรียญลงยา สำหรับแจกกรรมการ ทำเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ ปัจจุบันราคาอยู่หลักล้าน  เหรียญรูปไข่ จะมี สองชาย และ สามชาย โดยพิมพ์สามชายได้รับความนิยมกว่าพิมพ์สองชาย พิมพ์สองชาย ให้ดูที่ข้อมือซ้ายจะมีขีดคล้ายชายจีวร 2 เส้น หากใช้กล้องส่องอาจเห็นเส้นวิ่งกึ่งกลางเป็นติ่งยื่นลงมาระหว่างเส้นชายทั้งสองนิดเดียว ฝีมือช่างเดียวกัน มักพบเป็นเนื้อทองเหลืองด้วย พิมพ์สองชายราคาหลักแสนขึ้น พิมพ์สามชาย ที่ข้อมือซ้ายจะมีขีดคล้ายชายจีวร 3 เส้น และยังแบ่งย่อยออกเป็น



สามชาย อักษรมน นับเป็นพิมพ์หนึ่ง (บ้างเรียกก้นอักษรมน) ให้ดูที่ สระอู กับ ตัว ช จะไม่มีเหลี่ยม  ด้านหน้าเป็นแอ่งท้องกระทะ  ด้านหลังเรียบไม่แอ่น และเห็นขอบเส้นแผ่วๆ วิ่งรอบเหรียญ ถือว่าลึกที่สุดในสี่พิมพ์ ขอบตัดด้วยเครื่องไม่มีรอยตะไบ ห่วงเชื่อม เส้นพระเกศา พื้นไม่เรียบ เหนือกลางคิ้วขวามีไฝเม็ดซึ่งปรากฏทุกพิมพ์ ใบหน้าท่านตอบซูบเห็นเป็นเนื้อ  ทุกพิมพ์ครองจีวรแบบห่มคลุม มีผ้าเล็กคลุมอีกชั้นกันหนาว เนื้อโลหะเป็นทองแดง อาจพบเนื้อทองเหลืองผสมบ้าง เรียกทองฝาบาตร (พบเหรียญเงินจำนวนไม่มากนัก)

สามชาย อักษรสลับ เป็นพิมพ์สอง ฝีมือช่างเดียวกันกับพิมพ์หนึ่ง สระอูทำเป็นตัวมน ส่วน ตัว ช กลับเป็นฐานเหลี่ยม นอกนั้นคล้ายพิมพ์หนึ่งมาก ท้องอ่างเป็นแอ่งกระทะไม่ลึกเท่าพิมพ์หนึ่ง เนื้อโลหะคล้ายคลึงกัน ไมค่อยพบเนื้อเงิน เนื้อเงินสภาพดีดีหลักแสนกลาง เนื้อทองแดงหลักแสนขึ้น สามชาย อักษรเหลี่ยม พิมพ์ที่สาม (บ้างเรียกก้นอักษรเหลี่ยม) สระอู กับ ตัว ช เป็นเหลี่ยมไม่กลมโดยเฉพาะที่ฐานตัวอักษรเป็นมุมแหลมค่อนข้างชัดเจน ราคาหลักแสนขึ้น

หมายเหตุ : ขอบคุณภาพพระ ของ ดร. สุกิจ พูนศรีเกษม https://www.facebook.com/447101282711213/posts/548042975950376/

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563

ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย พระล้านนาลำพูน

ข้อมูลประวัติ ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย พระล้านนาลำพูน

          แต่เดิมเมื่อครูบาท่านยังเป็นฆราวาส ชื่อ ด.ช. สุจา เสมอใจ เป็นคนที่มีความจำเป็นเลิศ เริ่มเป็นเด็กวัดเมื่ออายุ 9 ขวบ สามารถอ่านพระคำภีร์ ต่างๆ ได้ดีเมื่ออายุ 13 ปี 

          เมื่อครั้งท่านเป็นพระ  มีนามว่า ภิกษุสุรินท์ สุรินโท กัลยาณมิตรของท่านได้แก่ พระปันแก้ว รตนปญโญ (ครูบา ปันแก้ว วัดดอยหลังถ้ำ) พระพรหมมา พรหมจกโก (ครูบา พรหมจักร) พระกาวิชัย วิชิตโฏ (ครูบาวิชัย วัดวังสะแกง)  พระคำ คนธิโย  (ครูบากันธิยะ วัดบ้านดงหลวง)  พระอุ่นเรือนสิริวิชโย  (ครูบาอุ่นเรือน วัดสันเจดีย์ริมปิง) 

          เมื่อ พ.ศ. 2481 ท่านอายุ 40 ปี 19พรรษาได้รับแต่งตั้งเป็น พระอธิการสุรินทร์สุรินโท ดำรงค์ตำแหน่ง  เจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ยและเมื่อวันที่ 15ธ.ค.2521ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น  พระครูวิมลศีลาภรณ์ขณะที่ อายุได้ 8 0ปี 59 พรรษา

 เหรียญครูบาสุรินทร์ สุรินโท วัดศรีเตี้ย รุ่นแรก ปี21 อ.บ้านโฮ่ง พระล้านนาลำพูน
พระเกจิผู้เรืองเวทย์ ที่โด่งดังเลื่องลือ ด้าน น้ำมันมนต์ อันลือลั่น
แห่งแดนล้านนา เหรียญหลวงปู่ครูบาสุรินทร์ สุรินโท วัดหลวงศรีเตี้ย ลำพูน เป็นเหรียญรุ่นแรก สร้างปี 2521 สภาพสวย มีรูปลงในหนังสือ เหรียญ 24 อำเภอ เล่ม 2 อนาคตแรง







เหรียญครูบาศรีวิชัยรุ่น 2482

เหรียญรูปเหมือนรุ่น ปี 2482” สร้างโดย พ.อ.พระยาสุรสงคราม เพื่อแจกแก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการสร้างเมรุเผาศพพระครูบาศรีวิชัย ที่วัดจามเทวี จ.ลำพูน มีลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ หูเชื่อม มีทั้งเนื้อทอง เนื้อเงิน เนื้อนาก และเนื้อทองแดงสัมฤทธิ์ องค์พระมีความสวยงามเส้นสายคมชัดเจนมาก ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปเหมือนพระครูบาศรีวิชัยครึ่งองค์ ด้านขวามีอักษรไทยว่า “ครูบาเจ้าศรีวิไชย” ด้านซ้ายเป็นอักขระพื้นเมือง ล่างสุดใต้มือไขว้เป็นปี พ.ศ.ที่สร้างคือ“๒๔๘๒“ ส่วนด้านหลัง เป็น “ยันต์ห้า”

ซึ่งผู้เขียนได้เคยเห็นของจริงแต่ยังไม่มีกำลังทรัพย์ครอบครอง 

ครูบาศรีวิชัย พระล้านนาลำพูน


ครูบาศรีวิชัย พระล้านนาลำพูน เมื่อปี พ.ศ.2421 ณ วันอังคารขึ้น 11 ค่ำปีขาล ตรงกับวันที่ 11 มิถุนายน 2421 เวลาพลบค่ำพระอาทิตย์คล้อยลงต่ำ ทันใดนั้นท้องฟ้าที่ใสสว่างกลับวิปริตมืดคลื้ม พายุพัดกระหน่ำพาเอาสายฝนเทลงมา เสียงฟ้าร้องคำราม อสุนีฟาดเปรี้ยงลงมาจนเกิดแผ่นดินไหว ทารกน้อยผู้หนึ่งได้ถือกำเนิดมาในกระท่อมเล็ก ๆ ในชนบทกันดารของหมู่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ทารกผู้นี้ได้รับการตั้งชื่อว่า “อินตาเฟือน” หรือ “อ้ายฟ้าร้อง” ตามนิมิตแห่งการเกิด

เมื่อเยาว์วัยท่านเป็นเด็กเลี้ยงง่ายและอยู่ในโอวาทคำสั่นสอนของบิดามารดาช่วยประกอบสัมมาอาชีวะ ปกติท่านชอบเลี้ยงวัวเลี้ยงควายและรักความสงบตามธรรมชาติป่าเขา เป็นบรรยากาศที่ช่างเหมาะสมกับอุปนิสัยที่จะปลูกฝังโพธิญาณของพระโพธิสัตว์เจ้าโดยแท้


ครั้นเมื่อท่านอายุได้ 18 ปี เกิดความคิดวิตกขึ้นในใจว่า ชาตินี้เกิดมามีฐานะลำบากยากจน ต้องทรมาณร่างกายด้วยการทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพทั้งบิดามารดาและตนเอง ทั้งนี้เพราะบุพกรรมแต่ในอดีตที่มิได้ให้ทานรักษาศีลภาวนา การได้บวชบำเพ็ญภาวนาในพระพุทธศาสนาน่าจะเป็นผลบุญต่อไปในภายภาคหน้า ทั้งยังถือเป็นการตอบแทนพระคุณบิดามารดา ดังนั้นท่านจึงได้ขอลาบิดามารดาไปอยู่วัดบ้านปาง ศึกษาเล่าเรียนและบวชเป็นสามเณรกับพระอาจารย์ขัติยะ หรือ ครูบาแข้งแขะ เพราะท่านเดินขากระแผลก เมื่ออายุได้ 21 ปีจึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสม สมฺโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “สิริวิชโย ภิกขุ” แต่ชาวบ้านจะเรียกท่านว่า “พระศรีวิชัย”
พระศรีวิชัยได้ศึกษาไสยศาสตร์เวทมนต์คาถาจากครูแข้งแขะ โดยได้ยึดมั่นว่าเป็นของดีของวิเศษที่จะนำความสุขความเจริญมาให้ ท่านยังได้สักหมึกดำที่ขาทั้งสองข้างตามความเชื่อของลูกผู้ชายชาวล้านนาว่าจะช่วยให้อยู่ยงคงกระพัน ต่อมาครูบาสม สมฺโณ ได้แนะนำให้พระศรีวิชัยไปนมัสการครูบาอุปละที่วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ครูบาอุปละได้เมตตาถ่ายทอดครองวัตรปฏิบัติวิชชาอาคมให้พระศรีวิชัยสมควรแก่ภูมิธรรมเป็นเวลา 1 พรรษา จากนั้นจึงได้กราบลาครูอุปละไปศึกษาต่อกับครูบาวัดดอยคำและกลับมาศึกษาต่อกับครูบาสม สมฺโณ ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง การได้ศึกษากับพระอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยภูมิรู้และวัตรปฏิบัติ ทำให้ท่านเกิดความเข้าใจในพุทธศาสนาที่ถูกต้อง มีความมุ่งมั่นปฏิบัติในด้านกัมมัฏฐาน โดยละเลิกความสนใจทางด้านไสยศาสตร์ ด้วยเล็งเห็นว่ามิใช่หนทางแห่งความหลุดพ้น

พระศรีวิชัยกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านปางอีกครั้งและปลีกตัวเองไปอยู่ในเขตอรัญญาวาส บำเพ็ญสมาธิภาวนาด้วยความสงบ ฉันอาหารมื้อเดียว ละเว้นจากการฉันเนื้อสัตว์และเว้นจากของเสพติดเช่น หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง บางครั้งท่านไม่ฉันข้าวนานถึง 5 เดือน ฉันแต่ผักผลไม้ ทำให้ชาวบ้านตลอดจนชาวเขาหลายเผ่าที่อยู่ในแถบนั้นพากันเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน


 พระศรีวิชัย ได้ชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาโดยแท้ ท่านเป็นผู้นำพัฒนาวัดบ้านปางเป็นแห่งแรก ก่อสร้างปฏิสังขรณ์กุฏิ วิหาร โบสถ์ และให้ชื่ออารามใหม่นี้ว่า “วัดจอมศะหรีทรายมูลบุญเรือง” แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงเรียกว่า “วัดบ้านปาง” นอกจากนั้นท่านยังได้ปลูกสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและถาวรวัตถุทางศาสนาอีกหลายสิบวัดในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น วัดพระธาตุหริภุญชัยลำพูน, วัดเชียงยืน, วัดพระพุทธบาทตากผ้า, วัดจามเทวี, วัดพระสิงห์, วัดสวนดอก, วัดศรีโสดา,วัดพระแก้วดอนเต้าลำปาง เป็นต้น

ผลงานด้านการพัฒนาของท่านเป็นที่รู้จักและยังคงกล่าวขวัญถึงยุคปัจจุบันก็คือ ถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ที่สมัยนั้นถือได้ว่าเป็นการร่วมแรงร่วมใจของผู้คนจากทั่วภาคเหนือที่พร้อมใจกันมาสร้างถนนก็ว่าได้ ในสมัยก่อนการจะเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพต้องเดินเท้าขึ้นไปด้วยความลำบาก ใช้เวลาไม่ต่ำ 4 – 5 ชั่วโมง และการที่จะสร้างถนนขึ้นไปเป็นเรื่องที่ยากเกินจะเป็นไปได้ เพราะต้องใช้ทั้งแรงงานมากมาย เวลาและเงินตรามหาศาล ทั้งสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องจักรที่ทันสมัย รัฐบาลในสมัยนั้นซึ่งมีพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทราบเรื่องจากหลวงศรีประกาศ (ฉันท์ วิชยาภัย) จึงได้ส่งนายช่างขึ้นมาทำการสำรวจเส้นทาง ระยะทางทั้งหมด 11.530 กิโลเมตร โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ
วันที่ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 แล้วเสร็จในวันที่ 30 เมษายน 2478

ความมีชื่อเสียง ความสำเร็จผลในด้านการเป็นพระนักพัฒนา ดูเหมือนว่าการบำเพ็ญบารมีธรรมในชีวิต

วันที่ 22 มีนาคม 2481 ขณะที่อายุได้ 60 ปีเศษ ครูบาศรีวิชัยได้ถึงแก่กาลมรณภาพที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดจามเทวี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2489 ตามแบบประเพณีล้านนาไทย
ครูบาศรีวิชัย จึงนับเป็นแบบอย่างของพระพัฒนาที่สร้างคุณูปการต่อจังหวัดเชียงใหม่และล้านนาไทยเป็นอย่างมาก แม้วันนี้ครูบาศรีวิชัย หรือ พระศีลธรรม จะมรณภาพมานานกว่า 80 ปี ทว่าชื่อเสียงของท่านยังคงอยู่ในศรัทธาของชาวเชียงใหม่และใกล้เคียงไม่เสื่อมคลาย


ของครูบาศรีวิชัยจะก้าวไปพร้อมกันกับอุปสรรค์แสนเข็ญ ด้วยคณะสงฆ์ผู้ใหญ่ในล้านนาไม่พอใจในตัวท่าน จนถึงขนาดมีการกล่าวหาเอาผิดท่านถึง 3 ครั้ง โดยกล่าวหาว่าท่านทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์ ซ่องสุมกำลังผู้คน คิดขบถต่อบ้านเมือง และนำท่านไปจำไว้ที่ลำพูนและวัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ จากนั้นจึงได้ส่งตัวท่านไปไต่สวนที่กรุงเทพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตั้งกรรมการชำระคดีครูบาศรีวิชัย ผลปรากฏว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีความผิด

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563

ประวัติ ครูบาขาวปี ตนบุญแห่งล้านนา ศิษย์ครูบาศรีวิชัย

ประวัติ ครูบาขาวปี ตนบุญแห่งล้านนา ศิษย์ครูบาศรีวิชัย


ครูบาอภิชัยขาวปี”เดิมชื่อ จำปี กำเนิดที่บ้านแม่ตืน อ.ลี้ เมื่ออายุ 16 ปี มารดาได้นำไปฝากเป็นลูกศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้ทำการบรรพชาให้เป็นสามเณร จนอายุครบ 22 ปี ก็ได้ทำการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ จากนั้นได้ปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระครูบาศรีวิชัย ผู้เป็นพระอาจารย์เมื่อถึงพรรษาที่ 13 ได้ถูกกลั่นแกล้ง และถูกจับดำ เนินคดีในข้อหาหลบเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร จนต้องถูกบังคับให้สึก และครองผ้าขาวเป็นครั้งแรก ในขณะที่ถูกคุมขังอยู่นั้น ก็ได้คิดริเริ่มสร้างโรงพยาบาลลำพูนจนแล้วเสร็จ

เมื่อถูกปล่อยตัวออกมาแล้ว ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้ทำการอุปสมบทให้เป็นครั้งที่ 2 เมื่อบวชแล้วก็ได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ไปบูรณะวัดวาอารามต่างๆ ต่อมา ได้ถูกกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์ จนต้องนุ่งผ้าขาวอีกเป็นครั้งที่ 2

ทั้งนี้ ครูบาอภิชัยขาวปี ได้ไปบูรณะวัดพระพุทธบาทผาหนาม อ.ลี้ จ.ลำพูน และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่นมาโดยตลอด ขณะเดียวกัน ก็ได้เป็นประธานในการบูรณะวัดวาอาราม สร้างโรงเรียน และโรงพยาบาลอีกหลายแห่ง เช่น โรงเรียนบ้านสามหลัง (อภิชัยบูรณะ) อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

ในปี 2514 คณะศรัทธาวัดสันทุ่งแฮ่ม จ.ลำปาง ได้มานิมนต์ท่านไปนั่งเป็นประธานในการก่อสร้างวัด จนแล้วเสร็จ ต่อมา คณะศรัทธาวัดต้นธงชัย จ.สุโขทัย มานิมนต์เพื่อขอความเมตตาไปเป็นประธานในการสร้างพระวิหาร โดยท่านเดินทางไปเมื่อวันที่ 2 มี.ค.2520 แต่เมื่อไปถึงวัดท่าต้นธงชัย ได้เพียงวันเดียว ท่านก็ได้มรณภาพในวันที่ 3 มี.ค.2520 โดยอาการสงบ

พระรอดล้านนา พระรอดวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ความงามที่ควรค่าแก่การสะสม

พระรอดวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ความงามที่ควรค่าแก่การสะสม



พระรอด 1 ในพิมพ์ ที่หายาก นี้คือ พระรอดพระสิงห์ พิมพ์โพธิ์ซ้อน ที่กระผมสะสมอยู่ครับ
พระรอดเป็นพระเครื่องเนื้อดินผสมว่าน ฝีมือช่างหริภุญชัย ในแบบศิลปะลพบุรียุคต้นที่งดงาม และอลังการ เนื้อพระมีความละเอียด และหนึกนุ่ม บางองค์ใกล้เคียงกับเนื้อพระทุ่งเศรษฐีมาก มีด้วยกัน 4 สี คือ สีขาว สีเหลื

พระรอด วัดพระสิงห์ เชียงใหม่" ที่สร้างเมื่อปีพ.ศ.2496 ซึ่งเป็นพระที่มีพุทธคุณใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด เซียนพระหลายท่านยืนยันว่า พระรอดวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ บูชาได้ดีไม่แพ้พระรอดอายุพันกว่าปีของลำพูน พระชุดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2496 เวลา 11.45 น. และในเดือนเดียวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช 1315 เริ่มพิธี 9 นาฬิกา 21 นาที 41 วินาที และเริ่มจุดเทียนชัยเวลา 19.20 น. โดยมี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานประกอบพิธีมหามงคล พระรอดชุดนี้สร้างจำนวน 84,000 องค์ เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างพุทธสถานเชียงใหม่

วัสดุในการสร้างใช้ดินบริเวณทิศเหนือของวัดพระคง จังหวัดลำพูน ซึ่งเชื่อกันว่าพระรอดมหาวันในสมัยจามเทวีวงศ์ก็ใช้ดินบริเวณนี้สร้าง จึงทำพิธีตั้งศาลเพียงตาอาราธนาขอจากพระพุทธรูปและอารักษ์ที่รักษาดินแดนแห่งนั้น จากนั้นขุดลงไปเพียง 3 ศอกก็พบดินขวยปูตามที่ต้องการ ลักษณะดินละเอียดเหนียว เมื่อนำมา สร้างพระแล้วแกร่งและสวยงามมาก เมื่อได้ดินที่ต้องการแล้วก็ให้อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิละลายดินด้วยน้ำพระพุทธมนต์ แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาว เก็บผงดินที่ละเอียดเหมือนแป้งมาผสมกับผงพระธาตุ ผงพระเปิม ผงพระเลี่ยง ผงพระคง ผงพระรอด ผงสมเด็จบางขุนพรหม ผงตรีนิสิงเห ผงปถมัง ผงพุทธคุณ และผงอิทธิเจของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า เช่น หลวงปุ่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อผสมจนเข้าเนื้อเดียวกันแล้วก็ปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดเท่าผลส้ม ส่งลงมากรุงเทพฯ ให้ อ.ฉลอง เมืองแก้ว (อาจารย์ขมังเวท) เป็นผู้ทำพิธีใส่ธาตุ แล้วนำกลับสู่เมืองลำพูน เพื่อให้ช่างพิมพ์องค์พระออกมาซึ่งมีทั้งหมด 11 พิมพ์

เมื่อถึงเวลาฤกษ์ พระมหาราชครูวามมุนี กับท่านพราหมณ์พระครูศิวาจารย์แห่งกรุงเทพฯ เป็นประธานฝ่ายพราหมณ์ มหาปัญจพิธีโอมอ่านศิวเวทอัญเชิญท้าวเทพยดาทั้งหลายที่สิงสถิตในแผ่นดินล้านนา อัญเชิญพระวิญญาณเจ้าแม่จามเทวีและกษัตริย์ทุกพระองค์ เมื่อจุดเทียนชัยพระมหาราชครูอ่านโองการชุมนุมเทวดา เสร็จแล้วพราหมณ์เป่าสังข์ จบแล้วคณาจารย์ทั้งหมดนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน
องค์ สีแดง และเขียว ซึ่งมีมูลค่าสูงเป็นหลักแสน และทะลุล้านในองค์ที่สวยแชมป์

คณาจารย์ที่ร่วมในพิธีก็ล้วนแล้วแต่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน เช่น เจ้าคุณพระศรีสมโพธิ วัดสุทัศน์, เจ้าคุณพระศรีสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง, หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, ครูบาวัง วัดบ้านเด่น, พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง, หลวงพ่อทบ วัดเขาชนแดน, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน เป็นต้นฃ




ในขณะที่ทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่จามเทวีมีฝูงผีเสื้อเป็นจำนวนมากบินมาอยู่เหนือเครื่องสังเวย แล้วกระจายบินหายไป คืนที่กระทำพิธีฟ้าคะนองตลอด เกิดแสงแปลบปลาบทั่วท้องฟ้า อากาศเยือกเย็นผิดจากวันอื่นๆ ส่วนคณาจารย์ทั้งหลายต่างเกิดนิมิตเป็นมงคลต่างๆ กัน ถือเป็นเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง


บรรยากาศช่วงโควิด 19 บุก วงการพระซบเซา

บรรยากาศช่วงโควิด 19 บุก วงการพระซบเซา

ผลกระทบเต็มเนื่องจากมีนโยบายให้ปิด สนามพระ ชมรมพระ เพื่อลดความเสี่ยงเกี่ยงกับการแพร่เชื้อโควิด และการร่วมกลุ่มอันก่อนให้เกิด social distancing เหงาเลยสิครับ เก็บตัวอยู่กับบ้าน เงินก็ต้องสำรองเพื่อซื้อกับข้าวกับปลา ยันปิดไปถึงร้านตัดผม ได้ไว้ยาวกันล่ะทีนี้ ครั้นให้เมียตัดให้ก็เบี้ยวๆบูดๆ เวรกรรมแท้ๆ

แต่พระเครื่องล้านนาเรายังคงออกโชว์ตามเฟส ตามเฟจต่างให้พอได้หายคิดถึงกันอยู่แต่จะปล่อยจะเช้าหากันยากอยู่เพราะต่างคนต่างระวังตัว รัดเข็มคัด

ยังไงก็ขอให้ผ่านพ้นไปได้กับช่วงนี้นะครับ เราจะสู้ไปด้วยกัน ขอส่งแรงใจและกล่วงคำว่าโชคดีกันทุกคนขอให้สุขภาพ แข็งแรงห่างไกลจากโควิด 19 ที่มาพร้อมกับเงิน หวิดๆ กันด้วยนะครับ แล้วพบกันครับ

พระล้านนาลำพูน

พระล้านนาลำพูน 

ขอไหว้สา พี่น้องอาวอา ทั้งหลาย ขออาราธานา คุณครูบาอาจารย์ เจ้า ครูครูบาเจ้าศรีวิชัย คุณหลวงปู่แหวน ที่ข้าพเจ้าได้เคารพนับถือ หื้อช่วยข้าพเจ้า ได้บรรลุเป้าหมายที่ข้าพเจ้าได้ตั้งจิตทำในครั้งนี้....

ขอหื้อคุณความดีที่ข้าพเจ้าได้ทำมาจงส่งผลโดยเร็วเพื่อประโยชน์แก่กู้ผู้กู้คน 

สวัสดี อีกครั้ง และขอตอนรับ สู่ความรู้ต่างๆ ประวัติ การสังเกต องค์ความรู้ต่างๆ จากผู้รู้ทั่วล้านนา รวมถึงข้าพเจ้าเอง ขอให้ผู้อ่านได้ประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ สาธุครับ 

พระล้านนา ทดสอบ